บาลี
|
คำอ่าน
|
เหตุปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย อธิปติปจฺจโย
|
เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อธิปะติปัจจะโย
|
อนนฺตรปจฺจโย สมนนฺตรปจฺจโย
|
อนันตะระปัจจะโย สะมะนันตะระปัจจะโย
|
สหชาตปจฺจโย อญฺมญฺปจฺจโย
|
สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญญะปัจจะโย
|
นิสฺสยปจฺจโย อุปนิสฺสยปจฺจโย ปุเรชาตปจฺจโย
|
นิสสะยะปัจจะโย อุปะนิสสะยะปัจจะโย ปุเรชาตะปัจจะโย
|
ปจฺฉาชาตปจฺจโย อาเสวนปจฺจโย กมฺมปจฺจโย
|
ปัจฉาชาตะปัจจะโย อาเสวะนะปัจจะโย กัมมะปัจจะโย
|
วิปากปจฺจโย อาหารปจฺจโย อินฺทฺริยปจฺจโย
|
วิปากะปัจจะโย อาหาระปัจจะโย อินทริยะปัจจะโย
|
ฌานปจฺจโย มคฺคปจฺจโย
|
ฌานะปัจจะโย มัคคะปัจจะโย
|
สมฺปยุตฺตปจฺจโย วิปฺปยุตฺตปจฺจโย อตฺถิปจฺจโย
|
สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย อัตถิปัจจะโย
|
นตฺถิปจฺจโย วิคตปจฺจโย อวิคตปจฺจโย ฯ
|
นัตถิปัจจะโย วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย.
|
พระมหาปัฏฐาน (แปล)
| |
ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย
| |
ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้
| |
ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย
| |
ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย
| |
ธรรมที่มีธรรมเกิดก่อนเป็นปัจจัย
| |
ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย
| |
ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย
| |
ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย
| |
ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย
| |
ธรรมทีมีฌานเป็นปัจจัย ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย
| |
ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย
| |
ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัย
| |
ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
| |
ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย.
|
มหาปัฏฐาน และเป็นคัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า จะสูญสิ้นเป็นคัมภีร์แรก เพราะเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้ง สุขุมคัมภีร์ภาพด้วยปัจจัยแห่งปรมัตถธรรม
ตามหลักฐานกล่าวว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาพระอภิธรรม ๗
คัมภีร์อยู่นั้น เมื่อทรงพิจารณาคัมภีร์ที่ ๑ คือ ธัมมสังคณี
จนถึงคัมภีร์ที่ ๖ คือ ยมก มาตามลำดับมิได้มีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้น
ต่อเมื่อทรงพิจารณาคัมภีร์ที่ ๗ คือ ปัฏฐาน
จึงได้เกิดรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายถึง ๖ สี (หรือที่เรียกว่า ฉัพพรรณรังสี)
ฉัพพรรณรังสี คือสีที่แผ่ออกจากพระวรกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มี ๖ สี คือ 1 โอตาทะกัง ขาว 2 ปีตัง เหลือง 3 โลหิตัง แดง 4 นีลัง เขียว 5
มัญเญถ ชมพู 6 ปภัสสร เลื่อมพราย แสงเหล่านี้เรียกอีกอย่างว่า วรรณรังสี (แสงออร่า) ซึ่งทั้ง ๖ สีถือว่า เป็นสีมงคลของชาวพุทธ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น